คณาจารย์และเจ้าหน้าที่
ศาสตราจารย์ ดร.วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น
Prof. Wiboon Trakulhun, D.A.
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย บรรณาธิการบริหารวารสารดนตรีรังสิต
Associate Dean for Academic and Research
วุฒิการศึกษา
• D.A. (Music Theory, Composition, and Conducting), Ball State University, USA
• M.F.A. (Composition), Chulalongkorn University, Thailand
• M.A. (Musicology), Mahidol University, Thailand
• Mini M.Ed. (Teaching in Higher Education), Rangsit University, Thailand
• B.A. (Western Music), Kasetsart University, Thailand
วิชาที่สอน
ทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์เพลง (Music Theory and Composition)
ระเบียบวิธีวิจัยในดนตรี (Research Methodology in Music)
ดนตรีศตวรรษที่ 20 (Twentieth-Century Music)
การวิเคราะห์ดนตรี (Music Analysis)
การสอนทฤษฎีดนตรี (Music Theory Pedagogy)
สัมมนาทฤษฎีดนตรี (Seminar in Music Theory)
การวิเคราะห์ดนตรีโพสต์โทโนล (Analysis of Post-Tonal Music)
ประวัติ
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น ได้รับทุนการศึกษาร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยรังสิต และ Ball State University เพื่อไปศึกษาต่อระดับระดับปริญญาเอกระหว่างปี ค.ศ. 2008-2011 ทางด้านทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์เพลง (Music Theory and Composition) ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต บทประพันธ์เพลงของเขาจำนวนมากได้นำออกแสดงทั้งระดับชาติและนานาชาติ เช่น String Orchestra and Flute (2018), Ramayana for Piano (2018), Ether-Cosmos for Piano (2016), Concerto for Orchestra (2015), From Time to Time (2013), Cursed and Cruel (2009), Three Pieces for Piano Trio (2008), My Seidal (2008) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทประพันธ์เพลง Sound of Unity นำไปใช้สำหรับการแสดงในพิธีเปิดกีฬามหาวิทยาลัยโลก (Universiade) ครั้งที่ 24 (2550) อีกทั้งผลงานวิจัยสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลง “อากาศธาตุ: บทประพันธ์เพลงเปียโนเพื่อการวิเคราะห์ (Ether-Cosmos: Piano Music Compositions for Analysis)” ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีสาขาปรัชญาจากสภาวิจัยแห่งชาติ (2560) และรางวัลอาจารย์ดีเด่นเฉพาะทางสาขาการวิจัยและ/หรือการประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยรังสิต (2561)
นอกจากนี้ รศ. ดร.วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น ได้สร้างผลงานวิชาการหลายด้านจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นบทประพันธ์เพลง หนังสือ/ตำรา บทความวิจัย บทความวิชาการ เขาได้เขียนบทความวิชาการและบทความวิจัยจำนวนรวมกันมากกว่า 40 บท เขามีผลงานหนังสือและตำราจำนวนทั้งสิ้น 6 เล่ม ได้แก่ ดนตรีศตวรรษที่ 20 (2558) ดนตรีศตวรรษที่ 20 : แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต (2559) มิติแห่งอากาศธาตุบทประพันธ์เพลง 20 บท สำหรับเปียโน (2559) การเสนอบทความทางวิชาการดนตรี (2561) ทฤษฎีดนตรีตะวันตก (2561) และทักษะทฤษฎีดนตรีตะวันตก (2561) เขามีผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (ด้านการประพันธ์เพลง) รวมถึงอรรถาธิบายและบทวิเคราะห์ ซึ่งได้ทุนสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานและจัดการแสดงทั้งจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คณะกรรมการจัดงานกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 และกระทรวงต่างประเทศ ประเทศเกาหลีใต้
สำหรับงานรับใช้สังคมและงานบริการวิชาการ เขาเป็นผู้ก่อตั้งและดำเนินงานวารสารดนตรีรังสิตมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 (ปัจจุบันทำหน้าที่บรรณาธิการบริหาร) พร้อมทั้งให้คำปรึกษาและทำหน้าที่กองบรรณาธิการ รวมถึงประเมินบทความให้กับวารสารวิชาการอื่นจำนวนมาก เขารับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างผลงานวิชาการ การเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัย นอกจากนี้ เขายังทำหน้าที่กรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิหลายด้าน เช่น กรรมการสภาวิชาการ กรรมการบริหารคณะ กรรมการร่างและวิพากษ์หลักสูตร กรรมการประเมินคุณภาพหลักสูตร กรรมการกำกับมาตราฐานวิชาการ กรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน รวมถึงกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่ประเมินผลงานวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ให้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ
email: wiboon.tr@rsu.ac.th
wbtrakulhun@gmail.com
© 2019
Rangsit university
Conservatory
of music
วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต
เลขที่ 52/347 หมู่บ้านเมืองเอก ถ.พหลโยธิน
ต.หลักหก อ.เมือง จ.ปทุมธานี 12000
โทรศัพท์ : 02-791-6259
โทรสาร : 02-791-6263
อีเมล : rsumusic@rsu.ac.th